เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นอารมณ์ของกิเลสและที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมอง
และเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นอารมณ์ของกิเลสและ
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ 2 ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นอารมณ์ของกิเลสและที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง
แต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอัตถิปัจจัย มี 4 อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ
อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นอารมณ์ของกิเลสและมหา-
ภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นอารมณ์ของกิเลสและ
กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นอารมณ์ของกิเลสและ
รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (2)

นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอวิคตปัจจัย
[30] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยนัตถิปัจจัย เป็น
ปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร
สุทธนัย
[31] เหตุปัจจัย มี 7 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 6 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :900 }