เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา เห็นแจ้งโสตะ ... กาย ... รูป ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้
ฯลฯ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอัตถิปัจจัย มีอย่าง
เดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ยินดีหทัยวัตถุ ฯลฯ
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดย
อัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอัตถิปัจจัย มี
อย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอัตถิปัจจัย (3)
[28] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดย
อัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอัตถิปัจจัย มี 2
อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :898 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของ
กิเลสเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสและที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป
โดยอัตถิปัจจัย (3)
[29] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสและที่กิเลส
ไม่ทำให้เศร้าหมองไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอัตถิปัจจัย มี 4 อย่าง คือ สหชาตะ
ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
และมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของ
กิเลสและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
และรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสและที่กิเลสไม่ทำ
ให้เศร้าหมองไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง
และไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและ
ปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยอัตถิปัจจัย (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :899 }