เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ
ทุติยมรรค ฯลฯ ตติยมรรค ฯลฯ จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[16] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ฯลฯ ทุติยมรรค
เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ฯลฯ ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ฯลฯ มรรค
เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอุปนิสสยปัจจัย มี
3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอริยะอาศัยมรรคจึงทำสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้วเห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
มรรคของพระอริยะเป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและ
มิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (2)

ปุเรชาตปัจจัย
[17] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยปุเรชาตปัจจัย มี
2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :889 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นแจ้งโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย .. รูป ... เสียง
... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ
เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดย
ปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยปุเรชาตปัจจัย มี
2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ เพราะปรารภความ
ยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลยินดี
เพลิดเพลินโสตะ ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมอง
และเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยปุเรชาตปัจจัย
ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของ
กิเลสโดยปุเรชาตปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[18] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยปัจฉาชาตปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :890 }