เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
ทำฌานให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น
ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ประสงค์จะลบล้างกรรมชั่วนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษา
อุโบสถ กรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่วิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอุปนิสสยปัจจัย มี
อย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะจึงทำมรรคให้เกิดขึ้น เข้า
ผลสมาบัติ อาศัยโทสะ ฯลฯ ความปรารถนาจึงทำมรรคให้เกิดขึ้น เข้าผลสมาบัติ
ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่มรรคและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[15] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาจึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้
เกิดขึ้น อาศัยศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย
... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะ จึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธา
ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ สุขทางกายและทุกข์ทางกายโดย
อุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่วิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรม-
ปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญา-
นาสัญญายตนะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอุปนิสสยปัจจัย มี
3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธา มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ
เสนาสนะ จึงฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่
ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :888 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ
ทุติยมรรค ฯลฯ ตติยมรรค ฯลฯ จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[16] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ฯลฯ ทุติยมรรค
เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ฯลฯ ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ฯลฯ มรรค
เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอุปนิสสยปัจจัย มี
3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอริยะอาศัยมรรคจึงทำสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้วเห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
มรรคของพระอริยะเป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและ
มิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (2)

ปุเรชาตปัจจัย
[17] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยปุเรชาตปัจจัย มี
2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :889 }