เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
อนันตรปัจจัย
[13] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดย
อนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตร-
ปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน อาวัชชนจิตเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดย
อนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค อนุโลมเป็นปัจจัย
แก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอนันตรปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :886 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
ได้แก่ ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสซึ่งเกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผลโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (2)

สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[14] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยสมนันตรปัจจัย ฯลฯ
เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสย-
ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะจึงฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ฯลฯ
อาศัยโทสะ จึงฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัย
แก่ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย ปาณาติบาตเป็นปัจจัยแก่
ปาณาติบาตโดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ นิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิ
โดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะจึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ
ทำฌาน ... วิปัสสนา ... ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัย
ความปรารถนาจึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา
เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ สุขทางกายและทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย บุคคล
ฆ่าสัตว์แล้ว ประสงค์จะลบล้างกรรมชั่วนั้นจึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :887 }