เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
ยินดีจักษุ ... ยินดีเพลิดเพลินโผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้น
นั้น ราคะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคและผลโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน
นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระ
อริยะรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังส-
ญาณและอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)

อธิปติปัจจัย
[11] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอธิปติปัจจัย มี 2
อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึง
เกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ยินดีเพลิดเพลินทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะ
ทำความยินดีเพลิดเพลินทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของ
กิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :883 }