เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสและที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐาน
รูปโดยเหตุปัจจัย (3)

อารัมมณปัจจัย
[9] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่
บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินราคะนั้น ราคะจึง
เกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น
บุคคลยินดีทิฏฐิ ฯลฯ เพราะปรารภวิจิกิจฉา ฯลฯ เพราะปรารภอุทธัจจะ ฯลฯ
เพราะปรารภโทมนัส ฯลฯ (1)
(พึงจำแนกเหมือนในกุสลติกะ)
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่ สภาว-
ธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่
พระอริยะพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น
เห็นแจ้งขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้จิตของบุคคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่กิเลสทำให้เศร้า
หมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสด้วยเจโตปริยญาณ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งขันธ์
ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา เมื่อกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :881 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่ออกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็น
ตทารมณ์ ขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่เจโต-
ปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และ
อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)
[10] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น พิจารณา
กุศลที่สั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน พระอริยะพิจารณาโคตรภู
พิจารณาโวทาน เห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็น
แจ้งโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ...
โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง
แต่เป็นอารมณ์ของกิเลสด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่
วิญญานัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ
โดยอารัมมณปัจจัย รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณเจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส
จึงเกิดขึ้น ยินดีกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว ยินดีฌาน ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :882 }