เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ
ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป 1
เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 3 ฯลฯ มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็น
อุปาทายรูปโดยอัตถิปัจจัย ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ...
อาศัยมหาภูตรูป 1 ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ... เสียง ... กลิ่น ... รส... โผฏฐัพพะโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินรูปเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นรูปที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานด้วยทิพพจักขุ
ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็น
ปัจจัยแก่กายที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานโดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี 3 อย่าง คือ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ
และอาหาระ
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะโดย
เป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความ
ยินดีเพลิดเพลินรูปเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :857 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
กุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ รูปายตนะ
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็น
ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอัตถิ-
ปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งกรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหาร
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็น
ปัจจัยแก่กายที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ ปัจฉาชาตะและอาหาระ
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่กายที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย (3)
[84] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 3 โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยอัตถิปัจจัย (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :858 }