เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
อัตถิปัจจัย
[82] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ
ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ 2 โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และกฏัตตารูปโดย
อัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และกฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย
ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ฯลฯ มหาภูตรูป 1
ฯลฯ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปโดยอัตถิปัจจัย สำหรับ
เหล่าอสัญญสัตตพรหม ... อาศัยมหาภูตรูป 1 ฯลฯ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปโดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น
ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่
เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งโสตะ ... ฆานะ ...
ชิวหา ... กาย ... รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้น
ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาท
ที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ รูปายตนะที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
คันธายตนะที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
... รสายตนะ ... โผฏฐัพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ จักขายตนะ
เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :854 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
กายที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดย
อัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี 4 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ
ปัจฉาชาตะ และอาหาระ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... รูปที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน ... กลิ่น
... รส ... โผฏฐัพพะและหทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานด้วยทิพพจักขุ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งกรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหาร
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็น
ปัจจัยแก่กายที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานโดยอัตถิปัจจัย (2)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :855 }