เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ
ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย (3)
[65] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณ-
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินรูปเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูป
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานด้วย
ทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ
ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินรูป
เป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว
จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ รูปายตนะที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :834 }