เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ทำตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน เสวย
ทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูล อาศัยศีลที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ เสนาสนะ จึงทำตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน
เสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูล ศรัทธาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายและ
ทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่วิบากโดย
อุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูป-
นิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรคโดยอุป-
นิสสยปัจจัย บริกรรมทุติยมรรค ฯลฯ ตติยมรรค ฯลฯ บริกรรมจตุตถมรรค
เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[63] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ
อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย
ทุติยมรรคเป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ฯลฯ ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค
มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :831 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ผลสมาบัติเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย
(2)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูป-
นิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอริยะอาศัยมรรคแล้วทำสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา มรรคของพระอริยะ เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา
นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา และความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะ
โดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

ปุเรชาตปัจจัย
[64] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณ-
ปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศล
ดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ พระเสขะหรือปุถุชน
เห็นแจ้งโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :832 }