เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ
ได้แก่ บุคคลอาศัยสุขทางกายแล้วทำมรรคให้เกิดขึ้น เข้าผลสมาบัติอาศัยทุกข์ทาง
กาย ... อุตุ ... โภชนะแล้วทำมรรคให้เกิดขึ้น เข้าผลสมาบัติ สุขทางกาย ...
ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะเป็นปัจจัยแก่มรรคและผลสมาบัติโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (3)
[62] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ
อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ
ทำฌานให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น
มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ
... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะแล้วให้ทาน
ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ...
ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ...ทิฏฐิ
...ความปรารถนา ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ... ศีล ... สุตะ
... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ...
ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ฯลฯ
บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ
ปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญา-
นาสัญญายตนะ ฯลฯ ปาณาติบาตเป็นปัจจัยแก่ปาณาติปาต ฯลฯ นิยตมิจฉาทิฏฐิ
เป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :830 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ทำตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน เสวย
ทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูล อาศัยศีลที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ เสนาสนะ จึงทำตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน
เสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูล ศรัทธาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายและ
ทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่วิบากโดย
อุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูป-
นิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรคโดยอุป-
นิสสยปัจจัย บริกรรมทุติยมรรค ฯลฯ ตติยมรรค ฯลฯ บริกรรมจตุตถมรรค
เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[63] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ
อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย
ทุติยมรรคเป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ฯลฯ ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค
มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :831 }