เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
เพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็น
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานด้วย
ทิพพจักขุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ อุปาทานด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และ
อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)
[53] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน พระอริยะพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน
พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้ง
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน...
เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินรูปเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้
มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ
โดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดย
อารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :818 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้ง
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ...
เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินรูปเป็นต้นนั้น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่
เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ อากาสานัญจายตนกุศลเป็นปัจจัยแก่
วิญญาณัญจายตนวิบากโดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนกุศลเป็นปัจจัยแก่
เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากโดยอารัมมณปัจจัย รูปายตนะที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย (2)
[54] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ นิพพานเป็น
ปัจจัยแก่มรรคและผลโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค
แล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู
โวทาน และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่ง
พร้อมด้วยจิตที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติ-
ญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :819 }