เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปัจจัย
[52] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระเสขะหรือปุถุชนเห็น
แจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อ
กุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ เห็นแจ้ง
โสตะ .... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน ... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ...
ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดย
เป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความ
ยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศล
และอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ รูปายตนะที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ คันธายตนะที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ... รสายตนะ ... โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กาย-
วิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งโสตะ ... ฆานะ
... ชิวหา ... กาย ... รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :817 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 7. ปัญหาวาร
เพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็น
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานด้วย
ทิพพจักขุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ อุปาทานด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่
อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และ
อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)
[53] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน พระอริยะพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน
พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้ง
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน...
เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินรูปเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้
มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ
โดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดย
อารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :818 }