เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 5. สังสัฏฐวาร
4. อุปาทินนติกะ 4. นิสสยวาร
[46] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้น ...
อาศัยขันธ์ 3 (ย่อ)
(ปัจจยวารและนิสสยวารเหมือนกัน)
นิสสยวาร จบ

4. อุปาทินนติกะ 5. สังสัฏฐวาร
1. ปัจจยานุโลม
เหตุปัจจัย
[47] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานเกิดระคนกับสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน ขันธ์ 1
เกิดระคนกับขันธ์ 3 ขันธ์ 2 เกิดระคนกับขันธ์ 2 ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 3
เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทาน ฯลฯ ขันธ์ 2 เกิดระคนกับขันธ์ 2 (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเกิดระคนกับสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ
ขันธ์ 2 เกิดระคนกับขันธ์ 2 (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :812 }