เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 3. วิปากติกะ 7. ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัย
แก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยวิปปยุตตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นวิบากโดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากโดย
วิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากโดย
วิปปยุตตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยวิปปยุตตปัจจัย (3)

อัตถิปัจจัย
[116] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอัตถิ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ
ขันธ์ 1 ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิ-
ปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบาก
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :767 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 3. วิปากติกะ 7. ปัญหาวาร
[117] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและ
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ฯลฯ มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ
ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป 1 ฯลฯ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปโดยอัตถิปัจจัย ... ที่เป็นภายนอก
...ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม
มหาภูตรูป 1 ฯลฯ
ปุเรชาตะ ได้แก่ พระอรหันต์เห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :768 }