เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 3. วิปากติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ
ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอรหันต์ทำมรรคแล้วทำกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา มรรคของพระอรหันต์เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ
ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[104] สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง
คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอรหันต์ทำอุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะแล้วทำ
กิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นวิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป-
นิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย
ทุกข์ทางกายและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลทำอุตุแล้วจึงให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ทำโภชนะ
... เสนาสนะแล้วจึงให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะ
เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :759 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 3. วิปากติกะ 7. ปัญหาวาร
ปุเรชาตปัจจัย
[105] สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง
คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระอรหันต์เห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
ฯลฯ กาย ... รูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบากโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นวิบากโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุ-
ปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลิน
จักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว
จิตตุปบาทที่เป็นวิบาก จึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุ
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ จิตตุปบาทที่เป็นวิบาก จึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากโดย
ปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ
และวัตถุปุเรชาตะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :760 }