เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 3. วิปากติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป (2) (มี 13
วาระ)

อุปนิสสยปัจจัย
[102] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ สุขทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย
และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์
ทางกายและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลทำสุขทางกายแล้วจึงให้ทาน สมาทานศีล
ฯลฯ ทำลายสงฆ์ทำทุกข์ทางกายแล้วจึงให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ ทำลายสงฆ์
สุขทางกาย ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาโดย
อุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอรหันต์ทำสุขทางกายแล้วทำกิริยาสมาบัติที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทำทุกข์ทางกายแล้ว ทำกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :757 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 3. วิปากติกะ 7. ปัญหาวาร
[103] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป-
นิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลทำศรัทธาแล้วจึงให้ทาน ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ
ทำศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญาจึงให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิอาศัยราคะ ... โทสะ
... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาแล้วจึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาเป็น
ปัจจัยแก่ศรัทธา ... ศีล ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรม
ปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น
ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ
บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ บริกรรมจตุตถมรรคเป็นปัจจัยแก่
จตุตถมรรค ฯลฯ ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ฯลฯ ทุติยมรรคเป็นปัจจัยแก่
ตติยมรรค ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย พระเสขะทำ
มรรคจึงทำกุศลสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ มรรคของพระเสขะเป็นปัจจัยแก่
อัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย
ปาณาติบาตเป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ มิจฉาทิฏฐิโดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ
มิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ พยาบาท ฯลฯ มาตุฆาตกรรมเป็น
ปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิโดย
อุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ นิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
สังฆเภทกกรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอุป-
นิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลทำศรัทธาแล้วทำตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน
เสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูล ฯลฯ ทำความปรารถนาแล้วทำตนให้เดือดร้อน ให้
ร้อนรน ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย
และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่วิบาก
โดยอุปนิสสยปัจจัย มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :758 }