เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 3. วิปากติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป (2) (มี 13
วาระ)

อุปนิสสยปัจจัย
[102] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ สุขทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย
และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์
ทางกายและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลทำสุขทางกายแล้วจึงให้ทาน สมาทานศีล
ฯลฯ ทำลายสงฆ์ทำทุกข์ทางกายแล้วจึงให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ ทำลายสงฆ์
สุขทางกาย ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาโดย
อุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอรหันต์ทำสุขทางกายแล้วทำกิริยาสมาบัติที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทำทุกข์ทางกายแล้ว ทำกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :757 }