เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 2. เวทนาติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์เป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุที่เป็นวิบากโดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัย
แก่วุฏฐานะที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย (2)
[47] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนาซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่
โคตรภูที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน
โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็น
ปัจจัยแก่ผล อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่าน
ผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตร-
ปัจจัย ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็น
ปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย มโนธาตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดย
อนันตรปัจจัย กุศลและอกุศลที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :670 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 2. เวทนาติกะ 7. ปัญหาวาร
สมนันตรปัจจัย
[48] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาโดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)

สหชาตปัจจัย
[49] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัย แก่
ขันธ์ 2 โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 โดยสหชาตปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยสหชาต-
ปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 โดยสหชาตปัจจัย (1)
[50] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ 2 โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 โดยสหชาตปัจจัย
(ไม่มีปฏิสนธิที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา) (1)
[51] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 1 โดยสหชาตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1
โดยสหชาตปัจจัย (1)

อัญญมัญญปัจจัยและนิสสยปัจจัย
[52] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาโดยอัญญมัญญปัจจัยเป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (อัญญมัญญปัจจัย
และนิสสยปัจจัยเหมือนสหชาตปัจจัย)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :671 }