เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 2. เวทนาติกะ 7. ปัญหาวาร
พระอริยะรู้จิตของบุคคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาด้วย
เจโตปริยญาณ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพ-
นิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณและอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น (3)
[40] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภโทสะ โทสะจึงเกิดขึ้น
โมหะจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภโมหะที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา โมหะจึงเกิดขึ้น
โทสะจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภกายวิญญาณ ที่สหรคตด้วยทุกข์ โทสะจึงเกิดขึ้น
โมหะจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนาจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วสุข-
เวทนา โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา พิจารณา
กิเลสที่ละได้แล้ว ซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่
เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนาเห็นแจ้งขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา พิจารณากิเลสที่
ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเห็นแจ้งขันธ์
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระอริยะ
รู้จิตของบุคคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาด้วยเจโตปริยญาณ
ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณและอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภ
ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :665 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 2. เวทนาติกะ 7. ปัญหาวาร
[41] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณาด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออก
จากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา พระ
อริยะมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ซึ่งสัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิต
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เห็นแจ้งขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น พระอริยะรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อม
ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ
เป็นปัจจัยแก่วิญญานัญจายตนะโดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัย
แก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย เพราะ
ปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาจึง
เกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออกจากมรรค ออกจากผลแล้ว
พิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา พระอริยะมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา
พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ซึ่งสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ข่มได้
แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนาเห็นแจ้งขันธ์ที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :666 }