เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 2. เวทนาติกะ 7. ปัญหาวาร
5. สังสัฏฐวาร
[36] สภาวธรรมที่เกิดระคนกับสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ

6. สัมปยุตตวาร
[37] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาซึ่งสัมปยุตกับสภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 2 สัมปยุตกับขันธ์ 1 ที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาเกิดขึ้น ขันธ์ 1 สัมปยุตกับขันธ์ 2 เกิดขึ้น (ย่อ)
สัมปยุตตวาร จบ

2. เวทนาติกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[38] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนาโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :663 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 2. เวทนาติกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปัจจัย
[39] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ แล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจาก
ฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา พระอริยะมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ละได้
แล้ว ซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น
บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนาเห็นแจ้งขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น เพราะ
ปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว กลับมีวิปฏิสาร โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อฌานที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเสื่อมไปแล้ว กลับมีวิปฏิสาร โทมนัสจึงเกิดขึ้น เพราะ
ปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ให้
ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ แล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนา ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากมรรค ออกจากผลแล้ว
พิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา พระอริยะมีจิตสัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนา พิจารณา
กิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
เห็นแจ้งขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :664 }