เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร 2. ปัจจยนิทเทส
ชิวหาวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่ง
เกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศล
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศล
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งสภาวธรรมใด ๆ สภา
วธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดยสมนันตรปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :6 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร 2. ปัจจยนิทเทส
[6] สหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 4 ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป 4 เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยสหชาตปัจจัยใน
ปฏิสนธิขณะ นามรูป เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยสหชาตปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป1โดยสหชาต-
ปัจจัย มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปโดยสหชาตปัจจัย สภาวธรรมที่
เป็นรูป บางคราวเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยสหชาตปัจจัย บางคราว
ไม่เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย
[7] อัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 4 ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญ-
ปัจจัย มหาภูตรูป 4 เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็น
ปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย
[8] นิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 4 ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกันโดย
นิสสยปัจจัย มหาภูตรูป 4 เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
นามรูป เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยนิสสย-
ปัจจัย มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปโดยนิสสยปัจจัย
จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จักขุ-
วิญญาณธาตุนั้นโดยนิสสยปัจจัย
โสตายตนะเป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยนิสสยปัจจัย
ฆานายตนะเป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยนิสสยปัจจัย

เชิงอรรถ :
1 รูปที่เกิดจากจิตมี 17 คือ วิญญัตติรูป 2 วิการรูป 3 อุปจยรูป 1 สันตติรูป 1 สัททรูป 1 ปริจเฉทรูป
1 และอวินิพโภครูป 8 (อภิ.สงฺ. 34/76211)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :7 }