เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 1. ปฏิจจวาร
ปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ขันธ์ 3 และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอัพยากต-
วิบากเกิดขึ้น ขันธ์ 1 และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2 และกฏัตตารูป
อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น
มหาภูตรูป 3 อาศัยมหาภูตรูป 1 เกิดขึ้น มหาภูตรูป 1 อาศัยมหาภูตรูป 3 เกิดขึ้น
มหาภูตรูป 2 อาศัยมหาภูตรูป 2 เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็น
อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน
... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป 3 อาศัย
มหาภูตรูป 1 เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิด
ขึ้น (1)

นสัมปยุตตปัจจัย
[100] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นสัมปยุตตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (ปัจจัยนี้
เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)

นวิปปยุตตปัจจัย
[101] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนวิปป-
ยุตตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์
1 อาศัยขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2 อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนวิปปยุตต-
ปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ 1
อาศัยขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2 อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอัพยากต-
วิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ 1 อาศัยขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2
อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็น
สมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป 3 อาศัยมหาภูตรูป 1
เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :53 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 1. ปฏิจจวาร
โนนัตถิปัจจัยและโนวิคตปัจจัย
[102] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
โนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศล
เกิดขึ้น (สองปัจจัยนี้เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)

2. ปัจจยปัจจนียะ 2. สังขยาวาร
คณนมูลกนัย

[103] นเหตุปัจจัย มี 2 วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี 5 วาระ
นอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ
นอนันตรปัจจัย มี 5 วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี 5 วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี 5 วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย มี 5 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี 7 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี 9 วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ
นกัมมปัจจัย มี 3 วาระ
นวิปากปัจจัย มี 9 วาระ
นอาหารปัจจัย มี 1 วาระ
นอินทรียปัจจัย มี 1 วาระ
นฌานปัจจัย มี 1 วาระ
นมัคคปัจจัย มี 1 วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี 5 วาระ
โนวิคตปัจจัย มี 5 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :54 }