เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร 2. ปัจจยนิทเทส
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศล
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งสภาวธรรมใด ๆ
สภาวธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดยอนันตร-
ปัจจัย
[5] สมนันตรปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุ
นั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโสตวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยฆานวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :5 }