เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 1. ปฏิจจวาร
นอนันตรปัจจัยและนสมนันตรปัจจัย
[89] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศล
เกิดขึ้น (นอนันตรปัจจัยและนสมนันตรปัจจัยเหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)

นอัญญมัญญปัจจัย
[90] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่
เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากต-
วิบากเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิด
ขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปที่เป็นภายนอกเกิดขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูป
ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน
เกิดขึ้น สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหา-
ภูตรูปเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :48 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 1. ปฏิจจวาร
นอุปนิสสยปัจจัย
[91] ภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (นอุปนิสสย-
ปัจจัยเหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)

นปุเรชาตปัจจัย
[92] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนปุเร-
ชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ 1
อาศัยขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2 อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนปุเรชาต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย
ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ 1 อาศัย
ขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2 อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนปุเรชาต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอัพยากตวิบาก
และที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ 1 อาศัยขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2 อาศัย
ขันธ์ 2 เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็น
อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 3 และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ 1
ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ 1 และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์
2 และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัย
หทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป 3 อาศัยมหาภูตรูป 1 เกิดขึ้น มหาภูตรูป 1
อาศัยมหาภูตรูป 3 เกิดขึ้น มหาภูตรูป 2 อาศัยมหาภูตรูป 2 เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :49 }