เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร 2. ปัจจยนิทเทส
รสายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมทั้งปวงเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
มโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ ปรารภสภาวธรรมใด ๆ เกิดขึ้น สภาว-
ธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดยอารัมมณปัจจัย
[3] อธิปติปัจจัย ได้แก่ ฉันทาธิบดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยฉันทะและรูปที่มีธรรมอันสัมปยุตด้วยฉันทะนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยวิริยะและรูปที่มีธรรมอันสัมปยุต
ด้วยวิริยะนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
จิตตาธิบดี เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและรูปที่มีธรรมอัน
สัมปยุตด้วยจิตนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
วิมังสาธิบดี เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยวิมังสา และรูปที่มีธรรมอัน
สัมปยุตด้วยวิมังสานั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ ทำสภาวธรรมใด ๆ ให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นเกิดขึ้น
สภาวธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดย
อธิปติปัจจัย
[4] อนันตรปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุ
นั้นโดยอนันตรปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :3 }