เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้
โดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป
โดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อกุศลโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศลและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ 3 และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์
2 และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตโดยอัตถิปัจจัย มี 4 อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
รูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้
โดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป
โดยอัตถิปัจจัย (2)

นัตถิปัจจัย
[436] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยนัตถิปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ
โดยนัตถิปัจจัย (ย่อ)
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนอนันตรปัจจัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :291 }