เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
วิปปยุตตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดย
วิปปยุตตปัจจัย มี 3 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาเป็นปัจจัย
แก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบาก
เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดย
วิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยวิปปยุตตปัจจัย
โสตายตนะเป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณโดยวิปปยุตตปัจจัย ฆานายตนะเป็นปัจจัย
แก่ฆานวิญญาณโดยวิปปยุตตปัจจัย ชิวหายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ
โดยวิปปยุตตปัจจัย กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยวิปปยุตตปัจจัย
หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาโดย
วิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาเป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยวิปปยุตตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย มี อย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
กุศลโดยวิปปยุตตปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอกุศล
โดยวิปปยุตตปัจจัย (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :287 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
อัตถิปัจจัย
[435] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอัตถิปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ 3 เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ 1 โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอัตถิปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิ-
ปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐาน-
รูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ 3 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ 3 เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 1 โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอัตถิปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิ-
ปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐาน-
รูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ 3 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :288 }