เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยปุเรชาต-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ เพราะปรารภความ
ยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น
อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น ยินดีเพลิดเพลินโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ...
กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ เพราะปรารภ
ความยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึง
เกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอกุศลโดยปุเรชาต-
ปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[425] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยปัจฉา-
ชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาซึ่งเกิด
ภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)

อาเสวนปัจจัย
[426] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอาเสวน-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นกุศลซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน
โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :280 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอาเสวนปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ
โดยอาเสวนปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดย
อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัพยากตกิริยาซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
เป็นอัพยากตกิริยาซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย (1)

กัมมปัจจัย
[427] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยกัมมปัจจัย
ได้แก่ เจตนาที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยกัมมปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก และ
กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
โดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยกัมมปัจจัย ได้แก่
เจตนาที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยกัมม
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมม-
ปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและ
กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :281 }