เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นกุศลโดย
อุปนิสสยปัจจัย
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยสุขทางกายแล้วให้ทาน สมาทานศีล
รักษาอุโบสถ ทำฌานให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำ
อภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ...
เสนาสนะแล้ว จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌานให้เกิดขึ้น ทำ
วิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น
สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา
... ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ
อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ...
กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่เป็น
อัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำ
ความยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอกุศลโดย
อุปนิสสยปัจจัย
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยสุขทางกายแล้วฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ งัดแงะ ปล้นไม่ให้เหลือ ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักจี้ที่ทางเปลี่ยว ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา
ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายทำพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ ทำลายสงฆ์ให้
แตกกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :278 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
อาศัยทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะแล้วฆ่าสัตว์ (ย่อ)
ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ราคะ
... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

ปุเรชาตปัจจัย
[424] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระอรหันต์เห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นแจ้งโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง
... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็น
ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย สัททายตนะเป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ...
คันธายตนะเป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ ... รสายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ ...
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ... ฆานายตนะเป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ ...
ชิวหายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ ... กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ
โดยปุเรชาตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็น
อัพยากตกิริยาโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสขะหรือปุถุชน เห็นแจ้งจักษุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นแจ้งโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย
... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นกุศลโดยปุเรชาตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :279 }