เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
ทิฏฐิ ... ความปรารถนาจึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌานให้เกิดขึ้น
ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิด
ขึ้น ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาเป็น
ปัจจัยแก่ศรัทธา ... ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย
บุคคลฆ่าสัตว์แล้วประสงค์จะลบล้างปาณาติบาตกรรมนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล
รักษาอุโบสถ ทำฌานให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำ
อภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิด ขึ้น บุคคลลักทรัพย์ พูดเท็จ ... พูดส่อเสียด
... พูดคำหยาบ ... พูดเพ้อเจ้อ ... งัดแงะ ... ปล้นไม่ให้เหลือ ... ปล้นเรือนหลังเดียว
... ดักจี้ที่ทางเปลี่ยว ... ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ... ฆ่าชาวบ้าน ... ฆ่าชาวนิคม
ประสงค์จะลบล้างกรรมชั่วนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌานให้
เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น ฆ่ามารดา ประสงค์จะลบล้างมาตุฆาตกรรมนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล
รักษาอุโบสถ ฆ่าบิดา ... ฆ่าพระอรหันต์ ... มีจิตประทุษร้ายทำพระโลหิตของ
พระตถาคตให้ห้อ ... ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ประสงค์จะลบล้างสังฆเภทกรรมนั้น
จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่ อกุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะแล้วทำตนให้เดือดร้อนให้ร้อนรนเสวย
ทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูล อาศัยโทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความ
ปรารถนา ทำตนให้เดือดร้อนให้ร้อนรน เสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูล ราคะ ...
โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย
ทุกข์ทางกายและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่
วิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :276 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่ พระอรหันต์พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลโดย
อุปนิสสยปัจจัย
อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาซึ่ง
เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย ภวังคจิตเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต กิริยาเป็นปัจจัย
แก่วุฏฐานะ อนุโลมของพระอรหันต์เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนกิริยาของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ สุขทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย
และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์
ทางกายและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย อุตุเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทาง
กายและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย โภชนะเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทาง
กายและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์
ทางกายและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ...
โภชนะ ... เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกายและผลสมาบัติโดย
อุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย
พระอรหันต์อาศัยสุขทางกายแล้วทำกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้า
กิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา อาศัยทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะแล้ว ทำกิริยาสมาบัติ
ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ
อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่ พระเสขะพิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภูโวทาน
และมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :277 }