เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วทำตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน
เสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูล อาศัยศีล ฯลฯ สุตะ ฯลฯ จาคะ ฯลฯ ปัญญา
แล้วทำตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน เสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูล ศรัทธา ... ศีล
... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญาเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกายและผลสมาบัติ
โดยอุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่วิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย พระ
อรหันต์อาศัยมรรคแล้วทำกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิด
ขึ้นแล้วเห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มรรคของ
พระอรหันต์เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา และความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย
มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ
อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ยินดีเพลิดเพลินทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขี้น
อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
เป็นอกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะแล้วฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูด
ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ งัดแงะ ปล้นไม่ให้เหลือ ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักจี้ที่ทางเปลี่ยว ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา
ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายทำพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ ทำลายสงฆ์ให้
แตกกัน อาศัยโทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนา
แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ
มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :274 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
ปาณาติบาตเป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาตโดยอุปนิสสยปัจจัย ปาณาติบาตเป็น
ปัจจัยแก่อทินนาทาน ฯลฯ กาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ มุสาวาท ฯลฯ ปิสุณาวาจา
ฯลฯ ผรุสวาจา ฯลฯ สัมผัปปลาปะ ฯลฯ อภิชฌา ฯลฯ พยาบาท ฯลฯ
มิจฉาทิฏฐิโดยอุปนิสสยปัจจัย อทินนาทานเป็นปัจจัยแก่อทินนาทาน ... กาเมสุ-
มิจฉาจาร ... มุสาวาท ... (ย่อ) มิจฉาทิฏฐิ ... ปาณาติบาตโดยอุปนิสสยปัจจัย
(พึงผูกให้เป็นจักกนัย)
กาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ มุสาวาท ฯลฯ ปิสุณาวาจา ฯลฯ ผรุสวาจา ฯลฯ
สัมผัปปลาปะ ฯลฯ อภิชฌา ฯลฯ พยาบาท ฯลฯ มิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย
แก่มิจฉาทิฏฐิโดยอุปนิสสยปัจจัย มิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่ปาณาติปาต ฯลฯ
อทินนาทาน ฯลฯ กาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ มุสาวาท ฯลฯ ปิสุณาวาจา ฯลฯ
ผรุสวาจา ฯลฯ สัมผัปปลาปะ ฯลฯ อภิชฌา ฯลฯ พยาบาทโดยอุปนิสสยปัจจัย
มาตุฆาตกรรมเป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย มาตุฆาตกรรม
เป็นปัจจัยแก่ปิตุฆาตกรรม ... อรหันตฆาตกรรม ... โลหิตุปปาทกรรม ...
สังฆเภทกรรม ... นิยตมิจฉาทิฏฐิโดยอุปนิสสยปัจจัย ปิตุฆาตกรรมเป็นปัจจัยแก่
ปิตุฆาตกรรม ... อรหันตฆาตกรรม ... โลหิตุปปาทกรรม ... สังฆเภทกรรม ...
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ... มาตุฆาตกรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย
อรหันตฆาตกรรมเป็นปัจจัยแก่อรหันตฆาตกรรม ... โลหิตุปปาทกรรม ฯลฯ
โลหิตุปปาทกรรมเป็นปัจจัยแก่โลหิตุปปาทกรรม ฯลฯ สังฆเภทกรรมเป็นปัจจัย
แก่สังฆเภทกรรม ฯลฯ นิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย นิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย ... เป็น
ปัจจัยแก่ปิตุฆาตกรรม ฯลฯ อรหันตฆาตกรรม ฯลฯ โลหิตุปปาทกรรม ฯลฯ
สังฆเภทกรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงทำให้เป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอุปนิสสยปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะแล้วจึงให้ทาน สมาทาน
ศีล รักษาอุโบสถ ทำฌานให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น
ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยโทสะ ... โมหะ ... มานะ ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :275 }