เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศล
โดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศลและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ 3 และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 โดยนิสสยปัจจัย
ขันธ์ 2 และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปโดยนิสสยปัจจัย (2)

อุปนิสสยปัจจัย
[423] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ
อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พระเสขะพิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาโวทาน
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น
อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
เป็นกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม
เป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดย
อุปนิสสยปัจจัย
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษา
อุโบสถ ทำฌานให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำอภิญญา
ให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยศีล ฯลฯ สุตะ ฯลฯ จาคะ ฯลฯ
ปัญญาแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌานให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้
เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธา ...
ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ... ศีล ... สุตะ ... จาคะ
... ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :271 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
บริกรรมปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌานโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมทุติย-
ฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌานโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมตติยฌานเป็นปัจจัยแก่
ตติยฌานโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมจตุตถฌานเป็นปัจจัยแก่จตุตถฌานโดย
อุปนิสสยปัจจัย บริกรรมอากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะ
โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมวิญญานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญานัญจายตนะ
โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมอากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่อากิญจัญญายตนะ
โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญา-
นาสัญญายตนะโดยเป็นอุปนิสสยปัจจัย ปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌานโดย
อุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ จตุตถฌานเป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญานัญจายตนะ ... วิญญานัญจายตนะ
เป็นปัจจัยแก่อากิญจัญญายตนะ ... อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญา-
นาสัญญายตนะโดยอุปนิสสยปัจจัย
บริกรรมทิพพจักขุเป็นปัจจัยแก่ทิพพจักขุโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมทิพพ-
โสตธาตุเป็นปัจจัยแก่ทิพพโสตธาตุโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมอิทธิวิธญาณเป็น
ปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมเจโตปริยญาณเป็นปัจจัยแก่
เจโตปริยญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมปุพเพนิวาสานุสสติญาณเป็นปัจจัยแก่
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมยถากัมมูปคญาณเป็นปัจจัย
แก่ยถากัมมูปคญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมอนาคตังสญาณเป็นปัจจัยแก่
อนาคตังสญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย
ทิพพจักขุเป็นปัจจัยแก่ทิพพโสตธาตุโดยอุปนิสสยปัจจัย ทิพพโสตธาตุเป็น
ปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย อิทธิวิธญาณเป็นปัจจัยแก่เจโตปริย-
ญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย เจโตปริยญาณเป็นปัจจัยแก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณโดย
อุปนิสสยปัจจัย ปุพเพนิวาสานุสสติญาณเป็นปัจจัยแก่ยถากัมมูปคญาณโดย
อุปนิสสยปัจจัย ยถากัมมูปคญาณเป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย
บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมทุติยมรรค
เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค
โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมจตุตถมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :272 }