เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
กฏัตตารูปโดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และกฏัตตารูปโดยนิสสย-
ปัจจัย ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยนิสสยปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์
โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูป 1 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 3 โดยนิสสยปัจจัย
มหาภูตรูป 3 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 1 โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูป 2 เป็น
ปัจจัยแก่มหาภูตรูป 2 โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปโดยนิสสยปัจจัย ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหาร
เป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหา-
ภูตรูป 1 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 3 โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูป 3 เป็นปัจจัย
แก่มหาภูตรูป 1 โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูป 2 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 2
โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทายรูปโดยนิสสย-
ปัจจัย จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยนิสสยปัจจัย โสตายตนะ ฯลฯ
ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดย
นิสสยปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากต-
กิริยาโดยนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยนิสสยปัจจัย
ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นกุศลโดยนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยนิสสยปัจจัย
ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอกุศลโดยนิสสยปัจจัย (3)
[422] สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นกุศลโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นกุศลและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์
3 โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ 3 และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์
2 และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยนิสสยปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :270 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศล
โดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศลและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
โดยนิสสยปัจจัย ขันธ์ 3 และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 โดยนิสสยปัจจัย
ขันธ์ 2 และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดยนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปโดยนิสสยปัจจัย (2)

อุปนิสสยปัจจัย
[423] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ
อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พระเสขะพิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาโวทาน
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น
อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
เป็นกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม
เป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดย
อุปนิสสยปัจจัย
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษา
อุโบสถ ทำฌานให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำอภิญญา
ให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยศีล ฯลฯ สุตะ ฯลฯ จาคะ ฯลฯ
ปัญญาแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌานให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้
เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธา ...
ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ... ศีล ... สุตะ ... จาคะ
... ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :271 }