เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
สมนันตรปัจจัย
[418] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยสมนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นกุศลซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัยอนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน
โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยสมนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยสมนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ กุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมของพระ
เสขะเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลของท่านผู้ออกจาก
นิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยสมนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยสมนันตรปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ
โดยสมนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยสมนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ อกุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยสมนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดย
สมนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาซึ่งเกิด
ก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย ภวังคจิตเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต กิริยาเป็นปัจจัยแก่
วุฏฐานะ อนุโลมของพระอรหันต์เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตน-
กิริยาของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยสมนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยสมนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นกุศลโดยสมนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยสมนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอกุศลโดยสมนันตรปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :265 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตปัจจัย
[419] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยสหชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 3
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดย
สหชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยสหชาตปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
โดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 3 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 และจิตตสมุฏฐานรูป
โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
สหชาตปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยสหชาตปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 3
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 โดย
สหชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยสหชาตปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
โดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 3 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 และจิตตสมุฏฐาน-
รูปโดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
สหชาตปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยสหชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ 3 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :266 }