เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
อธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอกุศล
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[416] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลโดยอธิปติ-
ปัจจัย
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากต-
กิริยาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระเสขะพิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่
โคตรภู โวทาน และมรรคโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ยินดี เพลิดเพลินโสตะ ... ฆานะ ...
ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ
... ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :263 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
อนันตรปัจจัย
[417] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นกุศลซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน
โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ กุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมของพระเสขะเป็น
ปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็น
ปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ
โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ อกุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาซึ่งเกิด
ก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต กิริยาเป็นปัจจัยแก่
วุฏฐานะ อนุโลมของพระอรหันต์เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนกิริยาของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นกุศลโดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอกุศลโดยอนันตรปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :264 }