เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
วิญญาณัญจายตนวิบากและกิริยาโดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนกุศลเป็น
ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากและกิริยาโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่เป็น
กุศลเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ
อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (3)
[407] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะ เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินราคะนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะ
จึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินทิฏฐิ เพราะปรารภความ
ยินดีเพลิดเพลินทิฏฐินั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น
อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภวิจิกิจฉา วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภอุทธัจจะ
อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น เพราะ
ปรารภโทมนัส โทมนัสจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึง
เกิดขึ้น (1)
[408] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ พระเสขะพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้
กิเลสที่เคยเกิดขึ้น พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งอกุศลโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นอกุศลด้วยเจโต-
ปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (2)
[409] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอรหันต์พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น
เห็นแจ้งอกุศลโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้จิตของบุคคลผู้มี
ความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นอกุศลด้วยเจโตปริยญาณ พระเสขะหรือปุถุชนเห็น
แจ้งอกุศลโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่ออกุศลดับแล้ว จิตตุป-
บาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ บุคคลยินดีเพลิดเพลินอกุศล เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :259 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินอกุศลนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึง
เกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่ออกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็น
วิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ ขันธ์ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิต
โดยอารัมมณปัจจัย (3)
[410] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอรหันต์พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพาน
เป็นปัจจัยแก่ผลและอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอรหันต์เห็นแจ้งจักษุโดย
เป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา
ฯลฯ กาย ฯลฯ รูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ
ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นอัพยากตวิบากและที่
เป็นอัพยากตกิริยาด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนกิริยาเป็นปัจจัยแก่
วิญญาณัญจายตนกิริยาโดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนกิริยาเป็นปัจจัยแก่
เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาโดยอารัมมณปัจจัย รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุ-
วิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย สัททายตนะเป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ คันธายตนะ
เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ รสายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่
อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และ
อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
[411] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระเสขะพิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็น
ปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค โดยอารัมมณปัจจัย พระเสขะหรือปุถุชน
เห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ
ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ รูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :260 }