เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร 4. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[50] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย
ได้บ้างไหม
... เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัย ฯลฯ
เพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะ
นอธิปติปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอัตถิ-
ปัจจัย เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
[51] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นอารัมมณปัจจัย เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
[52] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะ
อวิคตปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัย
เพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ
เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะ
นอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอัตถิปัจจัย เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย
ได้บ้างไหม
ปัจจนียานุโลมมีนัยอันลึกซึ้ง 6 ประการ คือ
1. ติกปัฏฐาน 2. ทุกปัฏฐาน
3. ทุกติกปัฏฐาน 4. ติกทุกปัฏฐาน
5. ติกติกปัฏฐาน 6. ทุกทุกปัฏฐาน
แต่ละปัฏฐานประเสริฐสูงสุด
ปัณณัตติวาร จบ
ปัจจัย 23 ในนิทเทสวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :25 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 1. ปฏิจจวาร
1. กุสลติกะ 1. ปฏิจจวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
อนุโลม เหตุปัจจัย
[53] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะเหตุ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ 1 อาศัยขันธ์ 3 เกิดขึ้น
ขันธ์ 2 อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
ขันธ์ 1 และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ 1 อาศัยขันธ์ 3 เกิดขึ้น
ขันธ์ 2 อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น
ขันธ์ 1 และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 3 เกิดขึ้น ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอัพยากตวิบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :26 }