เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 5. สังสัฏฐวาร
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเพราะนกัมมปัจจัย
ได้แก่ เจตนาที่เป็นอกุศลเกิดระคนกับขันธ์ที่เป็นอกุศล (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเพราะ
นกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดระคนกับขันธ์ที่เป็นอัพยากต-
กิริยา (1)

นวิปากปัจจัย
[355] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นกุศล ฯลฯ
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ฯลฯ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเพราะ
นวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นอัพยากตกิริยา
(นกัมมปัจจัยและนวิปากปัจจัยในปัจจนียวิภังค์สังสัฏฐวารไม่มีปฏิสนธิ มีแต่
่ในปัจจัยที่เหลือ)

นฌานปัจจัย
[356] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
เพราะนฌานปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยปัญจวิญญาณ
ฯลฯ ขันธ์ 2 เกิดระคนกับขันธ์ 2 (1)

นมัคคปัจจัย
[357] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
เพราะนมัคคปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เป็นอเหตุกะซึ่ง
เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ฯลฯ ขันธ์ 2 เกิดระคนกับขันธ์ 2 ใน
ปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :220 }