เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร 1. ปัจจยานุโลม
อารัมมณมูลกนัยเป็นต้น
[39] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัย เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติ-
ปัจจัย ฯลฯ เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย
ได้บ้างไหม เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย
เพราะอัญญมัญญปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย
เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะ
อวิคตปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม

ทุมูลกนัย จบ
[40] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม เพราะอวิคตปัจจัย
เพราะเหตุปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะ
อนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้
บ้างไหม
[41] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้บ้างไหม
เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย
ฯลฯ เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
(ผู้รู้พึงอธิบายเอกมูลกนัย ทุมูลกนัย ติมูลกนัย จตุมูลกนัย ปัญจมูลกนัย
สัพพมูลกนัยของบทแต่ละบทให้พิสดาร)
อนุโลมมีนัยอันลึกซึ้ง 6 ประการ คือ
1. ติกปัฏฐาน 2. ทุกปัฏฐาน
3. ทุกติกปัฏฐาน 4. ติกทุกปัฏฐาน
5. ติกติกปัฏฐาน 6. ทุกทุกปัฏฐาน
แต่ละปัฏฐานประเสริฐสูงสุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :21 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร 2. ปัจจยปัจจนียะ
2. ปัจจยปัจจนียะ
[42] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย1 ได้บ้างไหม
(พึงอธิบายนเหตุปัจจัยแม้ในปัจจนียะให้พิสดารเหมือนเหตุปัจจัยในอนุโลม)
[43] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม เพราะนอธิปติปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะ
นสมนันตรปัจจัย เพราะนสหชาตปัจจัย เพราะนอัญญมัญญปัจจัย เพราะ
นนิสสยปัจจัย เพราะนอุปนิสสยปัจจัย เพราะนปุเรชาตปัจจัย เพราะนปัจฉาชาต-
ปัจจัย เพราะนอาเสวนปัจจัย เพราะนกัมมปัจจัย เพราะนวิปากปัจจัย เพราะ
นอาหารปัจจัย เพราะนอินทรียปัจจัย เพราะนฌานปัจจัย เพราะนมัคคปัจจัย
เพราะนสัมปยุตตปัจจัย เพราะนวิปปยุตตปัจจัย เพราะโนอัตถิปัจจัย เพราะ
โนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
[44] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะนเหตุ-
ปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
(แม้ในปัจจนียะ ผู้รู้พึงอธิบายเอกมูลกนัย ทุมูลกนัย ติมูลกนัย จตุมูลกนัย
จนถึงเตวีสติมูลกนัยของบทแต่ละบทให้พิสดารเหมือนในอนุโลม)
ปัจจนียะมีนัยอันลึกซึ้ง 6 ประการ คือ
1. ติกปัฏฐาน 2. ทุกปัฏฐาน
3. ทุกติกปัฏฐาน 4. ติกทุกปัฏฐาน
5. ติกติกปัฏฐาน 6. ทุกทุกปัฏฐาน
แต่ละปัฏฐานประเสริฐสูงสุด

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงปัจจัยอื่น ๆ ตามสมควรที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย แม้อารัมมณปัจจัยเป็นต้นก็พึงทราบโดยนัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :22 }