เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร 2. ปัจจยนิทเทส

13. กมฺมปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นกรรม
14. วิปากปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก
15. อาหารปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอาหาร
16. อินฺทฺริยปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอินทรีย์
17. ฌานปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นฌาน
18. มคฺคปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นมรรค
19. สมฺปยุตฺตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นการประกอบ
20. วิปฺปยุตฺตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นการไม่ประกอบ
21. อตฺถิปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นภาวะที่ยังมีอยู่
22. นตฺถิปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นภาวะที่ไม่มีอยู่
23. วิคตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปราศจากไป
24. อวิคตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความไม่ปราศจากไป

ปัจจยุทเทส จบ

ปัจจยวิภังควาร
2. ปัจจยนิทเทส
[1] เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุและ
รูปที่มีธรรมอันสัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐานโดยเหตุปัจจัย
[2] อารัมมณปัจจัย ได้แก่ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :2 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร 2. ปัจจยนิทเทส
รสายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมทั้งปวงเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
มโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ ปรารภสภาวธรรมใด ๆ เกิดขึ้น สภาว-
ธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดยอารัมมณปัจจัย
[3] อธิปติปัจจัย ได้แก่ ฉันทาธิบดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยฉันทะและรูปที่มีธรรมอันสัมปยุตด้วยฉันทะนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยวิริยะและรูปที่มีธรรมอันสัมปยุต
ด้วยวิริยะนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
จิตตาธิบดี เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและรูปที่มีธรรมอัน
สัมปยุตด้วยจิตนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
วิมังสาธิบดี เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยวิมังสา และรูปที่มีธรรมอัน
สัมปยุตด้วยวิมังสานั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ ทำสภาวธรรมใด ๆ ให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นเกิดขึ้น
สภาวธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดย
อธิปติปัจจัย
[4] อนันตรปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุ
นั้นโดยอนันตรปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :3 }