เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 3. ปัจจยวาร
1. กุสลติกะ 3. ปัจจยวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[243] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัย1เกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 ทำขันธ์ 1 ที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ 1 ทำขันธ์ 3 ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ 2 ทำขันธ์ 2 ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ 1 ที่เป็น
กุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ 1 และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ 3 ให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ 2 ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (3)
[244] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 ทำขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ 1
ทำขันธ์ 3 ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ 2 ทำขันธ์ 2 ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นอกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอกุศลให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ 1 ที่เป็น
อกุศลให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ 1 และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ 3 ให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ 2 ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (3)

เชิงอรรถ :
1อภิ.ปญฺจ.อ. 243/490

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :131 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 3. ปัจจยวาร
[245] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ 1 ที่เป็น
อัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ 1 และจิตต-
สมุฏฐานรูปทำขันธ์ 3 ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูป
ทำขันธ์ 2 ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 3 และกฏัตตารูปทำขันธ์ 1
ที่เป็นอัพยากตวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ 1 และกฏัตตารูปทำขันธ์ 3 ให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ 2 และกฏัตตารูปทำขันธ์ 2 ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น หทัยวัตถุ
ทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น มหาภูตรูป 3
ทำมหาภูตรูป 1 ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น มหาภูตรูป 1 ทำมหาภูตรูป 3 ให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น มหาภูตรูป 2 ทำมหาภูตรูป 2 ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป
และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็น
อัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (4)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตทำสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลทำหทัยวัตถุให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (5)
[246] สภาวธรรมที่เป็นกุศลทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 ทำขันธ์ 1 ที่เป็นกุศลและ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ 1 ทำขันธ์ 3 และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ 2 ทำขันธ์ 2 และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :132 }