เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร 2. ปัจจยนิทเทส
[11] ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกซึ่งเกิดภายหลัง
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ซึ่งเกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย
[12] อาเสวนปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่ง
เกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยาซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากตกิริยาซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย
[13] กัมมปัจจัย ได้แก่ กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
เจตนา เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตและรูปมีสภาวธรรมนั้นเป็นสมุฏฐาน
โดยกัมมปัจจัย
[14] วิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 4 ที่เป็นวิบาก ซึ่งไม่เป็นรูป เป็นปัจจัยแก่
กันและกันโดยวิปากปัจจัย
[15] อาหารปัจจัย ได้แก่ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอาหาร-
ปัจจัย อาหารที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตและรูปซึ่งมีสภาวธรรม
นั้นเป็นสมุฏฐานโดยอาหารปัจจัย
[16] อินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย
โสตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโสต-
วิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย
ฆานินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยฆาน-
วิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :10 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร 2. ปัจจยนิทเทส
ชิวหินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย
กายินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย
รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอินทรียปัจจัย
อินทรีย์ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต และรูปซึ่งมีสภาวธรรม
นั้นเป็นสมุฏฐานโดยอินทรียปัจจัย
[17] ฌานปัจจัย ได้แก่ องค์ฌานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฌานและรูปซึ่งมีสภาวธรรมนั้นเป็นสมุฏฐานโดยฌานปัจจัย
[18] มัคคปัจจัย ได้แก่ องค์มรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
มรรคและรูปซึ่งมีสภาวธรรมนั้นเป็นสมุฏฐานโดยมัคคปัจจัย
[19] สัมปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 4 ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
โดยสัมปยุตตปัจจัย
[20] วิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
[21] อัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 4 ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกันโดย
อัตถิปัจจัย
มหาภูตรูป 4 เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามรูป
เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยอัตถิปัจจัย สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกเป็นปัจจัย
แก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปโดย
อัตถิปัจจัย
จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :11 }