เมนู

ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ 40 อภิธรรมปิฎกที่ 07 ปัฏฐาน ภาค 1

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] มาติกานิกเขปวาร 1. ปัจจยุทเทส

พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมานุโลม ติกปัฏฐาน
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มาติกานิกเขปวาร
1. ปัจจยุทเทส

1. เหตุปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ
2. อารมฺมณปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์
3. อธิปติปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี
4. อนนฺตรปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น
5. สมนนฺตรปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น
ด้วยดี
6. สหชาตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกัน
7. อญฺมญฺปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
8. นิสฺสยปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัย
9. อุปนิสฺสยปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลัง
10. ปุเรชาตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อน
11. ปจฺฉาชาตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดทีหลัง
12. อาเสวนปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเสพบ่อย ๆ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :1 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร 2. ปัจจยนิทเทส

13. กมฺมปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นกรรม
14. วิปากปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก
15. อาหารปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอาหาร
16. อินฺทฺริยปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอินทรีย์
17. ฌานปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นฌาน
18. มคฺคปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นมรรค
19. สมฺปยุตฺตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นการประกอบ
20. วิปฺปยุตฺตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นการไม่ประกอบ
21. อตฺถิปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นภาวะที่ยังมีอยู่
22. นตฺถิปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นภาวะที่ไม่มีอยู่
23. วิคตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปราศจากไป
24. อวิคตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความไม่ปราศจากไป

ปัจจยุทเทส จบ

ปัจจยวิภังควาร
2. ปัจจยนิทเทส
[1] เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุและ
รูปที่มีธรรมอันสัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐานโดยเหตุปัจจัย
[2] อารัมมณปัจจัย ได้แก่ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :2 }