เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ยมก [7. อนุสยยมก] 2. มหาวาร 6. อุปปัชชหนวาร
นั้นละอวิชชานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และภวราคานุสัยในที่นั้น
ไม่ได้แล้ว แต่กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยไม่ควรกล่าวว่า “ละได้แล้ว” หรือ
“ละไม่ได้แล้ว” บุคคลนั้นนั่นแหละ ในเวทนา 2 ในกามธาตุ บุคคลนั้นละอวิชชานุสัย
กามราคานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัยในที่นั้นไม่ได้แล้ว แต่
ปฏิฆานุสัยและภวราคานุสัยไม่ควรกล่าวว่า “ละได้แล้ว” หรือ “ละไม่ได้แล้ว”
บุคคลนั้นนั่นแหละ ในทุกขเวทนา บุคคลนั้นละอวิชชานุสัย ปฏิฆานุสัย ทิฏฐานุสัย
และวิจิกิจฉานุสัยในที่นั้นไม่ได้แล้ว กามราคานุสัย มานานุสัย และภวราคานุสัย
ไม่ควรกล่าวว่า “ละได้แล้ว” หรือ “ละไม่ได้แล้ว”
ฉักกมูลกนัย จบ
ปฏิโลมในปหีนวาร จบ
ปหีนวาร จบ

6. อุปปัชชหนวาร
[330] อนุ. กามราคานุสัยของบุคคลใดเกิด ปฏิฆานุสัยของบุคคลนั้นก็เกิด
ใช่ไหม
วิ. ใช่
ปฏิ. ปฏิฆานุสัยของบุคคลใดเกิด กามราคานุสัยของบุคคลนั้นก็เกิดใช่ไหม
วิ. ใช่
อนุ. กามราคานุสัยของบุคคลใดเกิด มานานุสัยของบุคคลนั้นก็เกิดใช่ไหม
วิ. ใช่
ปฏิ. มานานุสัยของบุคคลใดเกิด กามราคานุสัยของบุคคลนั้นก็เกิดใช่ไหม
วิ. มานานุสัยของอนาคามีบุคคลเกิด แต่กามราคานุสัยไม่เกิด มานา-
นุสัยของบุคคล 3 จำพวกเกิดและกามราคานุสัยก็เกิด
(พึงขยายความให้พิสดาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 38 หน้า :836 }


พระอภิธรรมปิฎก ยมก [7. อนุสยยมก] 2. มหาวาร 7. ธาตุปุจฉาวาร
[331] อนุ. กามราคานุสัยของบุคคลใดไม่เกิด ปฏิฆานุสัยของบุคคลนั้นก็ไม่
เกิดใช่ไหม
วิ. ใช่
ปฏิ. ปฏิฆานุสัยของบุคคลใดไม่เกิด กามราคานุสัยของบุคคลนั้นก็ไม่เกิด
ใช่ไหม
วิ. ใช่
อนุ. กามราคานุสัยของบุคคลใดไม่เกิด มานานุสัยของบุคคลนั้นก็ไม่เกิด
ใช่ไหม
วิ. กามราคานุสัยของอนาคามีบุคคลไม่เกิด แต่มานานุสัยมิใช่ไม่เกิด
กามราคานุสัยของอรหันตบุคคลไม่เกิดและมานานุสัยก็ไม่เกิด
ปฏิ. ปฏิฆานุสัยของบุคคลใดไม่เกิด กามราคานุสัยของบุคคลนั้นก็ไม่เกิด
ใช่ไหม
วิ. ใช่
(พึงขยายความให้พิสดาร)
อุปปัชชนวาร จบ

7. ธาตุปุจฉาวาร
กามธาตุมูลกนัย
[332] บุคคลผู้จุติจากกามธาตุแล้วอุบัติในกามธาตุ มีอนุสัยนอนเนื่อง
เท่าไร ไม่มีอนุสัยนอนเนื่องเท่าไร มีอนุสยภังคะ1เท่าไร
บุคคลผู้จุติจากกามธาตุแล้วอุบัติในรูปธาตุ มีอนุสัยนอนเนื่องเท่าไร ไม่มีอนุสัย
นอนเนื่องเท่าไร มีอนุสยภังคะเท่าไร

เชิงอรรถ :
1 คำว่า อนุสยภังคะ แปลว่าความแตกดับแห่งอนุสัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 38 หน้า :837 }