เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ยมก [7. อนุสยยมก] 2. มหาวาร 2. สานุสยวาร
ปฏิ. บุคคลใดไม่มีอนุสัยคืออวิชชานุสัย บุคคลนั้นก็ไม่มีอนุสัยคือกามราคา-
นุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และภวราคานุสัยใช่ไหม
วิ. ใช่
ฉักกมูลกนัย จบ

ปฏิโลมโอกาส
เอกมูลกนัย
[110] อนุ. บุคคลไม่มีอนุสัยคือกามราคานุสัยอันเกิดจากธาตุใด ก็ไม่มี
อนุสัยคือปฏิฆานุสัยอันเกิดจากธาตุนั้นใช่ไหม
วิ. ในทุกขเวทนา บุคคลไม่มีอนุสัยคือกามราคานุสัยอันเกิดจากธาตุนั้น
แต่มิใช่ไม่มีอนุสัยคือปฏิฆานุสัย ในรูปธาตุ อรูปธาตุ และในสภาวธรรมที่ไม่นับ
เนื่องในวัฏฏทุกข์ บุคคลไม่มีอนุสัยคือกามราคานุสัยอันเกิดจากธาตุนั้นและก็ไม่มี
อนุสัยคือปฏิฆานุสัย
ปฏิ. บุคคลไม่มีอนุสัยคือปฏิฆานุสัยอันเกิดจากธาตุใด ก็ไม่มีอนุสัยคือ
กามราคานุสัยอันเกิดจากธาตุนั้นใช่ไหม
วิ. ในเวทนา 2 ในกามธาตุ บุคคลไม่มีอนุสัยคือปฏิฆานุสัยอันเกิดจาก
ธาตุนั้น แต่มิใช่ไม่มีอนุสัยคือกามราคานุสัย ในรูปธาตุ อรูปธาตุ และในสภาวธรรม
ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ บุคคลไม่มีอนุสัยคือปฏิฆานุสัยอันเกิดจากธาตุนั้นและก็ไม่
มีอนุสัยคือกามราคานุสัย
อนุ. บุคคลไม่มีอนุสัยคือกามราคานุสัยอันเกิดจากธาตุใด ก็ไม่มีอนุสัยคือ
มานานุสัยอันเกิดจากธาตุนั้นใช่ไหม
วิ. ในรูปธาตุและอรูปธาตุ บุคคลไม่มีอนุสัยคือกามราคานุสัยอันเกิดจาก
ธาตุนั้น แต่มิใช่ไม่มีอนุสัยคือมานานุสัย ในทุกขเวทนาและในสภาวธรรมที่ไม่นับ
เนื่องในวัฏฏทุกข์ บุคคลไม่มีอนุสัยคือกามราคานุสัยอันเกิดจากธาตุนั้นและก็ไม่มี
อนุสัยคือมานานุสัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 38 หน้า :630 }