เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ยมก [1. มูลยมก] 1. มูลวารนิทเทส 1. กุสลบท นยจตุกกะ
1. มูลวารนิทเทส
1. กุสลบท นยจตุกกะ
[50] อนุโลมปุจฉา สภาวธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นกุศล1 สภาวธรรม
เหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศลมูลใช่ไหม
วิสัชนา กุศลมูลมี 3 เท่านั้น2 สภาวธรรมที่เหลือเป็นกุศล แต่ไม่เป็นกุศลมูล3
ปฏิโลมปุจฉา สภาวธรรมเหล่าใดเป็นกุศลมูล สภาวธรรมเหล่านั้นทั้งหมด
เป็นกุศลใช่ไหม
วิสัชนา ใช่ (1)
[51] อนุ. สภาวธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นกุศล สภาวธรรมเหล่านั้น
ทั้งหมดมีมูลอย่างเดียวกันกับกุศลมูลใช่ไหม
วิ. ใช่
ปฏิ. สภาวธรรมเหล่าใดมีมูลอย่างเดียวกันกับกุศลมูล สภาวธรรมเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นกุศลใช่ไหม
วิ. รูปที่มีกุศลเป็นสมุฏฐาน4 มีมูลอย่างเดียวกันกับกุศลมูล แต่ไม่เป็นกุศล
กุศลมีมูลอย่างเดียวกันกับกุศลมูลก็ใช่ เป็นกุศลก็ใช่ (2)
[52] อนุ. สภาวธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีมูลอย่างเดียวกันกับกุศลมูล สภาว-
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีมูลอาศัยกันและกันกับกุศลมูลใช่ไหม
วิ. มูลเหล่าใดเป็นกุศลมูลเกิดร่วมกัน มูลเหล่านั้นเป็นมูลอย่างเดียวกันก็ใช่
เป็นมูลอาศัยกันและกันก็ใช่ สภาวธรรมที่เกิดร่วมกันกับกุศลมูลที่เหลือมีมูลอย่าง
เดียวกันกับกุศลมูล แต่ไม่เป็นมูลอาศัยกันและกัน

เชิงอรรถ :
1 คือสภาวะที่เป็นกุศลซึ่งไม่มีโทษ มีสุขเป็นผล (อภิ.ปญฺจ.อ. 50/330)
2 กุศลมูลมี 3 คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ แม้อัพยากตมูลก็เช่นกัน
3 อีกประการหนึ่ง แปลว่า สภาวธรรมที่เป็นกุศลมีผัสสะเป็นต้นที่เหลือ ชื่อว่าเป็นสภาวธรรม ไม่จัดเป็น
กุศลมูล (อภิ.ปญฺจ.อ. 50/330)
4 คือมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน (อภิ.ปญฺจ.อ. 50/331)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 38 หน้า :10 }


พระอภิธรรมปิฎก ยมก [1. มูลยมก] 1. มูลวารนิทเทส 1. กุสลบท นยจตุกกะ
ปฏิ. สภาวธรรมเหล่าใดมีมูลอาศัยกันและกันกับกุศลมูล สภาวธรรมเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นกุศลใช่ไหม
วิ. ใช่ (1) (3)
[53] อนุ. สภาวธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นกุศล สภาวธรรมเหล่านั้นทั้งหมด
มีมูลที่เป็นกุศลมูลใช่ไหม
วิ. มูลที่เป็นกุศลมูลมี 3 เท่านั้น สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือไม่เป็นมูล
ที่เป็นกุศลมูล
ปฏิ. สภาวธรรมเหล่าใดมีมูลที่เป็นกุศลมูล สภาวธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็น
กุศลใช่ไหม
วิ. ใช่ (4)
[54] อนุ. สภาวธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นกุศล สภาวธรรมเหล่านั้น
ทั้งหมดมีมูลที่เป็นมูลอย่างเดียวกันกับกุศลมูลใช่ไหม
วิ. ใช่
ปฏิ. สภาวธรรมเหล่าใดมีมูลที่เป็นมูลอย่างเดียวกันกับกุศลมูล สภาวธรรม
เหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศลใช่ไหม
วิ. รูปที่มีกุศลเป็นสมุฏฐานมีมูลที่เป็นมูลอย่างเดียวกันกับกุศลมูล แต่ไม่เป็น
กุศล กุศลมีมูลที่เป็นมูลอย่างเดียวกันกับกุศลมูลก็ใช่ เป็นกุศลก็ใช่ (5)
[55] อนุ. สภาวธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีมูลที่เป็นมูลอย่างเดียวกันกับกุศลมูล
สภาวธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีมูลที่เป็นมูลอาศัยกันและกัน1กับกุศลมูลใช่ไหม
วิ. มูลเหล่าใดเป็นกุศลมูลเกิดร่วมกัน มูลเหล่านั้นมีมูลที่เป็นมูลอย่างเดียว
กันก็ใช่ มีมูลที่เป็นมูลอาศัยกันและกันก็ใช่ สภาวธรรมที่เกิดร่วมกันกับกุศลมูลที่
เหลือ มีมูลที่เป็นมูลอย่างเดียวกันกับกุศลมูล แต่ไม่มีมูลที่เป็นมูลอาศัยกันและกัน

เชิงอรรถ :
1 คำว่า เป็นมูลอาศัยกันและกัน หมายถึงเป็นปัจจัยของกันและกันโดยเหตุปัจจัย (อภิ.ปญฺจ.อ. 52-56/
331)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 38 หน้า :11 }