เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
[222] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[223] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[224] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ไม่
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่นั้นไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ที่ไม่พิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมอยู่ ไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :98 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
[225] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกับบุคคลผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ จิต ฯลฯ ธรรมกับบุคคลผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
อยู่เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[226] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“โมฆราช เธอจงพิจารณาเห็นโลก1โดยความว่างเปล่า
มีสติทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย
เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น” 2
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”

เชิงอรรถ :
1 โลก ในที่นี้หมายถึงขันธ์ 5 (อภิ.ปญฺจ.อ. 126/158)
2 ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) 25/1126/772, ขุ.จู. (แปล) 30/88/323

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :99 }