เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [22. พาวีสติมวรรค] 9. อปรินิปผันนกถา (226)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่ผัสสะแต่เทียบได้กับผัสสะ ไม่ใช่เวทนาแต่เทียบได้
กับเวทนา ไม่ใช่สัญญาแต่เทียบได้กับสัญญา ไม่ใช่เจตนาแต่เทียบได้กับเจตนา
ไม่ใช่จิตแต่เทียบได้กับจิต ไม่ใช่สัทธาแต่เทียบได้กับสัทธา ไม่ใช่วิริยะแต่เทียบได้
กับวิริยะ ไม่ใช่สติแต่เทียบได้กับสติ ไม่ใช่สมาธิแต่เทียบได้กับสมาธิ ไม่ใช่ปัญญา
แต่เทียบได้กับปัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[916] สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่โทสะแต่เทียบได้กับโทสะ ไม่ใช่โมหะแต่เทียบ
ได้กับโมหะ ไม่ใช่กิเลสแต่เทียบได้กับกิเลสมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่ผัสสะแต่เทียบได้กับผัสสะ ฯลฯ ไม่ใช่ปัญญาแต่
เทียบได้กับปัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิรูปกถา จบ

9. อปรินิปผันนกถา (226)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ(มาจากเหตุ)
[917] สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. รูปไม่ใช่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ใช่อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
ไม่ใช่มีความสิ้นไป ไม่ใช่มีความเสื่อมไป ไม่ใช่มีความคลายไป ไม่ใช่มีความดับไป
ไม่ใช่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะและนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. 917/325)
2 เพราะมีความเห็นว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ สิ่งเหล่านี้ เรียกว่าสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จมาจากเหตุ
เพราะตั้งอยู่โดยปราศจากการเกิดดับ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สภาวธรรมเหล่านั้นเรียกว่า
สภาวธรรมที่สำเร็จมาจากเหตุ เพราะมีการเกิดดับตามสภาวะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 917/325)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :943 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [22. พาวีสติมวรรค] 9. อปรินิปผันนกถา (226)
สก. รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ”
สก. ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” รูปไม่เที่ยง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” รูปไม่เที่ยง
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จ”
[918] สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ ฯลฯ จักขุธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ ฯลฯ จักขุนทรีย์
ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ เป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อัญญาตาวินทรีย์ไม่ใช่ไม่เที่ยง ฯลฯ ไม่ใช่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อัญญาตาวินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :944 }